รู้จักอันตราย และอุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำ
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากทางน้ำ สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาปกติ คือ การโดยสารผ่านการขนส่งทางเรือ หรือเกิดกับเด็ก ๆ ที่มีบ้านใกล้คลอง ใกล้แหล่งน้ำ, ช่วงปิดเทอมของเด็กนักเรียน ที่ชอบลงเล่นน้ำคลายร้อน และช่วงเทศกาลวันสำคัญต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น วันลอยกระทง ที่จะมีผู้ใหญ่ เด็ก ๆ ไปร่วมเทศกาล นั่งเรือไปลอยกระทงกลางน้ำ หรือบางส่วนที่จะลงน้ำเก็บเงินในกระทง
อุบัติเหตุสามารถป้องกัน หรือลดจำนวนลงได้ หากทุกท่านดูแลตัวเอง และบุตรหลานอย่างใกล้ชิด รู้จักความเสี่ยง ความอันตรายของการจมน้ำ รู้จักป้องกันตัวเอง ฝึกเรียนว่ายน้ำ และอีกวิธี คือ รู้จักการใช้อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ โดยจะมีอุปกรณ์เบื้องต้น ดังนี้
1. ห่วงชูชีพ – มี 2 แบบ คือ แบบไฟเบอร์กลาส เป็นห่วงชูชีพที่เหมาะสำหรับใช้งานกลางแจ้ง เพราะตัวห่วงเป็นวัสดุไฟเบอร์กลาส ซึ่งมีความทนทานสูง มีให้ขนาดทั้ง 24 นิ้ว และ 28 นิ้ว และแบบโฟม ห่วงชูชีพโฟม ขนาด 24 นิ้ว ผลิตจากโฟมสังเคราะห์ PolyEthylene (PE) อัดขึ้นรูปวงกลม ห่อหุ้มภายนอกด้วยผ้าสีขาว คาดด้วยแถบผ้าสีแดง เหมาะสำหรับงานกู้ภัยทางน้ำ และติดตั้งบนเรือยนต์เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร
2. เสื้อชูชีพ – ผลิตจากโฟม POLYETHYLENE หุ้มด้วยผ้าไนล่อนติดนกหวีด สำหรับเป่าเพื่อขอความช่วยเหลือขนาดเสื้อเป็นไซส์มาตรฐาน สามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 80 – 90 กิโลกรัม หลังการใช้งานแล้วทุกครั้ง ให้นำไปผึ่งแดดจนแห้งสนิททุกครั้ง ก่อนที่จะนำไปเก็บในชั้นวาง หรือในที่ร่ม เพราะหากเราเก็บในที่ร่มขณะที่เสื้อชูชีพยังเปียก หรือยังไม่แห้งสนิท จะทำให้มีกลิ่นเหม็นอับ และเกิดเป็นราขึ้นได้
3. เชือกช่วยชีวิตทางน้ำ – ผลิตจากเส้นใยโพลีโพรพีลีน ความยาว 30 เมตร ทนแรงดึงได้ประมาณ 250 กิโลกรัม สำหรับคล้องกับห่วงไฟเบอร์ โยนให้ผู้ประสบภัยแล้วดึงเชือกกลับมา
อุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำนั้นมีหลายแบบ การเลือกใช้งานควรพิจารณาจากความชอบ การใช้กับสถานที่ หรือสถานการณ์ ณ ขณะนั้น ๆ ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือของทุก ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่อยู่อาศัยบ้านใกล้แหล่งน้ำ ผู้ที่ใช้การโดยสารทางเรือ และการท่องเที่ยว กิจกรรมทางน้ำต่าง ๆ ต้องร่วมมือกันดูแลตัวเอง ดูแลเด็ก ๆ อย่างใกล้ชิด ไม่ประมาท รู้จักเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตอย่างเหมาะสม เพื่อที่การเกิดอุบัติเหตุทางน้ำจะสามารถลดน้อยลง หรือไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้