ทำความรู้จัก! อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง
อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง นั้นเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานในสถานที่ทำงานที่เสี่ยงอันตรายต่อการตก โดยอุปกรณ์ป้องกันการตกจะเหมาะสำหรับงานที่มีการทำงานบนพื้นที่สูงมากกว่า 4 เมตร เช่น งานก่อสร้าง งานทำความสะอาด งานไฟฟ้า ซึ่งการป้องกันการตกจะมีอยู่ 3 ประเภท
1. การป้องกันในสถานที่ทำงาน
จะต้องมีการทำระบบเพื่อจำกัดพื้นที่ในการทำงานบนที่สูง โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการตก เช่น ตาข่ายกันตก นั่งร้าน
หรือ ใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกส่วนบุคคลเมื่อไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์กันตกดังกล่าวได้
2. การป้องกันที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน
โดยผู้ปฏิบัติงานควรผ่านการอบรมในการปฏิบัติงานบนที่สูง
3. การป้องกันโดยใช้อุปกรณ์กันการตก
จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐานสากล หรือในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานให้ขอใบรับรองผลการทดสอบจากโรงงานผู้ผลิต
และต้องไม่สร้างระบบหรืออุปกรณ์ป้องกันการตกด้วยตัวเอง
โดยองค์ประกอบหลักๆของระบบการป้องกันการตกจะมีดังนี้
- จุดยึด Anchor Point (tie-off point)
โดยจุดยึดจะเป็นจุดที่เอาไว้สำหรับยึดกับโครงสร้างต่างๆ ซึ่งตามมาตรฐาน อุปกรณ์ต้องสามารถรับแรงได้อย่างน้อย 22 kN (5000 lb) ตัวยึดควรอยู่ในตำแหน่งเหนือหัวและอยู่ในแนวเดียวกับผู้ใช้งาน เพื่อลดระยะในการตกและลดการเหวี่ยงตัวไม่ให้ไปกระแทกกับโครงสร้าง
- อุปกรณ์เชื่อมต่อ Connecting Device (Lanyard & Connector)
ซึ่งอุปกรณ์เชื่อมต่อจะมีอยู่อย่างน้อย 2 จุด คือจุดที่เชื่อมกับจุดยึดตัว (Anchor Point) และจุดที่ยึดกับตัว Harness จำเป็นต้องทนต่อการกัดกร่อน ผิวจะต้องเรียบ ไม่มีรอยต่อและทำจากเหล็กที่หล่อขึ้นรูปหรือปั๊มขึ้นรูป ตัวเชื่อมต่อที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างจุดยึดกับอุปกรณ์ป้องกันการตก จะต้องไม่มีรอยร้าว รอยแตก หรือการเปลี่ยนรูปถาวร สามารถรับแรงอย่างน้อย 16 kN
เชือก (Landyard) ใช้สำหรับรักษาตำแหน่งการทำงานของผู้ใช้และป้องกันการตก
โดยตัวเชือกนั้น ควรมีระยะสั้นที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้ใช้พลัดตกไปเกิน 2 ฟุต ซึ่งตัวเชือกสามารถทำจากวัสดุได้หลายชนิดทั้ง ลวดสลิง, โซ่, หรือเชือกไนล่อน
เชือกสำหรับป้องกันการตก จะทำจากเหล็ก ลวดสลิง ไนล่อนหรือเส้นใย Dacron ซึ่งอาจมีการเสริมอุปกรณ์ดูดซับแรงกระแทก (Shock-Absorb) เพื่อลดแรงกระแทกเวลาตก โดยเชือกจะต้องช่วยไม่ทำให้เกิดแรงสูงสุดที่เข็มขัดรัดลำตัว (Full-Body Harness) เกิน 1,800 ปอนด์ เวลาตก และความยาวของเชือกสูงสุดจะต้องไม่ทำให้ผู้ใช้งานตกลงมาเกิน 6 ฟุต
- เข็มขัดแบบเต็มตัว Body wear (full body harness)
โดยผู้ใช้งานต้องสวมใส่ทั้งตัวไม่ใช่จุดใดจุดหนึ่ง เป็นอุปกรณ์ดึงและประคองผู้ใช้งานถ้าเกิดการตก โดยจะต้องเลือกเข็มขัดให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงานและจะต้องมีจุดเชื่อมต่ออย่างน้อย 1 จุด ซึ่งปกติจะอยู่ด้านหลัง สายรัดต้องทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่อ่อนนุ่มแต่ทนทาน เช่น โพลีเอไมด์ หรือ โพลีเอสเตอร์ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการตกจากที่สูง
ปกติแล้ว การใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงจะมีข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์คร่าว ๆ โดยก่อนที่จะใช้งานเข็มขัดนิรภัย ผู้ใช้ควรตรวจสอบบริเวณตัวเข็มและเชือกว่ามีการฉีก ปริ ขาด ถ้าพบ ไม่ควรนำมาใช้งาน เมื่อใช้ไปประมาณ 1-3 เดือน ควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบก่อนนำกลับมาใช้อีก การทำความสะอาดนั้น ควรมีการทำความสะอาดอุปกรณ์เดือนละครั้งเมื่อมีการใช้งานทุกวันหรือเมื่อตัวอุปกรณ์นั้นมีความสกปรกมากๆ โดยใช้น้ำอุ่นและสบู่กรด ตามด้วยน้ำสะอาด จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง ถ้าเป็นเข็มขัดนิรภัยที่มีส่วนประกอบของหนัง ก่อนที่จะแห้งสนิท ควรชโลมหนังด้วยน้ำมันเพื่อเป็นการรักษาหนัง