ทำงานร่วมกับสารเคมี ควรปฏิบัติอย่างไร
สารเคมี คือ สารอนินทรีย์ หรือสารอินทรีย์ ที่อาจอยู่ในธรรมชาติหรือถูกสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งจะอยู่ในสถานะ ของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส
โดยสารเคมีนั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง ได้แก่ ทางปาก ทางลมหายใจ ทางผิวหนัง
สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องทำงานร่วมกับสารเคมีนั้น ควรทราบแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวกับสารเคมี เพื่อให้การทำงานนั้นไม่เกิดอันตรายขึ้น โดยข้อแรกคือ
1. การป้องกันที่แหล่งกำเนิด อย่างเช่น การใช้สารเคมีที่มีพิษน้อยกว่า หรือปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตที่ทำให้เกิดสารเคมีและมลพิษ แต่ถ้าวิธีข้างต้นไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ก็อาจจะมีการติดตั้งระบบระบายอากาศ และมีแผนการควบคุม บำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานกับสารเคมี เพื่อให้บรรยากาศในที่ทำงานมีความปลอดภัยมากขึ้น
2.การป้องกันที่ทางผ่าน คือ การดูแลรักษาความสะอาดพื้นที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอ ระบายอากาศอย่างพอเหมาะอยู่ตลอดเวลา หรือไม่เราอาจจะเพิ่มระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดกับผู้ปฏิบัติงาน หรือแม้กระทั่งทำความสะอาดเครื่องมือที่ใช้ร่วมกับสารเคมี ก็สามารถช่วยได้
3. การป้องกันที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน โดยจัดการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกับสารเคมีอย่างไรให้ปลอดภัย และควรมีการหมุนเวียนผู้ปฏิบัติงาน เพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณนั้นๆ นานจนเกินไป อีกทั้งผู้ปฏิบัติงานควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันสารเคมี และจำเป็นต้องตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังเป็นระยะ
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสารเคมี ก็จะอยู่หลายชนิดดังนี้
1.อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ เช่น หมวกยาง หรือหมวกแข็ง
2. อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า ดวงตา เช่น กะบังหน้า แว่นตาการสารเคมี
3. อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ เช่น หน้ากากป้องกันสารเคมี
4. อุปกรณ์ป้องกันมือ เช่น ถุงมือยาง
5. อุปกรณ์ป้องกันลำตัว เช่น ชุดป้องกันสารเคมีแบบใช้แล้วทิ้ง ชุด PVC
6. อุปกรณ์ป้องกันเท้า เช่น รองเท้ายาง รองเท้าบูท
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากสารเคมี
– ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีโดยการรับประทาน ให้ลดอัตราการดูดซึม โดยให้ผู้ป่วยรีบดื่มนมหรือน้ำเปล่าตามทันที (ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ชักหรือสลบเท่านั้น) อีกทั้งถ้าสารเคมีมีฤทธิ์เป็นกรด ด่าง ที่มีกลิ่น ห้ามทำให้อาเจียน และควรพบแพทย์ทันที
– ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ผิวหนัง ให้ล้างบริเวณที่ถูกสารเคมีโดยใช้น้ำสะอาดให้ได้มากที่สุด ห้ามใช้ยาแก้พิษใดๆ เทลงผิวหนัง เพราะอาจจะเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้เกิดแผลมากกว่าเดิม
– ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีที่ตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดให้มากที่สุด โดยให้น้ำไหลผ่านดวงตาอย่างน้อย 15 นาที แล้วรีบส่งนำส่งแพทย์ทันที
– ถ้าได้รับอันตรายจากสารเคมีในการสูดดม ให้ผู้ปฏิบัติงานนั้นออกจากบริเวณนั้นๆ ทันที และช่วยผายปอด หรือกระตุ้นลมหายใจด้วยยาดมฉุนๆ
อย่างไรก็ตามการทำงานกับสารเคมี เป็นงานที่มีความอันตรายจากทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ผู้ปฏิบัติงานควรมีติอยู่กับงานอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ที่ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้